นายเวงกี้ แพดมานาบัน ประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทรอยัล เอ็นฟิลด์ ผู้ผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบคลาสสิกจากประเทศอินเดียกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างขั้นตอนการเจรจาหาซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย เพื่อจัดหาและผลิตชิ้นส่วนกว่า 160 รายการป้อนให้กับบริษัทเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ "รอยัล เอ็นฟิลด์" ณ เมืองเชนไน ประเทศอินเดีย
สำหรับการเข้ามาหาซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการชาวไทยครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการชาวไทยที่ขึ้นชื่อ และ ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นนำของโลกหลายรายประกอบกับภาษีส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จากไทยไปอินเดียไม่สูงมากนัก รวมถึงระยะเวลาการขนส่งจากไทยไปยังโรงงานที่อินเดีย เมื่อเทียบกับการขนส่งภายในอินเดียนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
บริษัทหวังว่าการเข้ามาหาซัพพลายเออร์ชาวไทยจะช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาคุณภาพของสินค้า และช่วยเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปในตลาดหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรหรือเยอรมนีได้ โดยปัจจุบันบริษัทมีการส่งออกปีละ 2,000 คัน คิดเป็นแค่ 4% ของยอดการผลิตเท่านั้น
ส่วนการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยนั้นอยู่ระหว่างการเจรจาหาดิสทริบิวเตอร์ที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย แต่ยังติดที่ภาษีนำเข้าสำหรับรถจักรยานยนต์ ซีบียูในประเทศไทยยังสูงอยู่ ทำให้โอกาส ที่จะเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังเป็นไปได้ยากขึ้น
ปัจจุบันรอยัล เอ็นฟิลด์มีกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ปีละ 60,000 คัน โดยมีการผลิตจริงที่ 50,000 คันในปีนี้ และตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดผลิตให้ถึง 100,000 คันในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมวางแผนผลักดันตลาดส่งออกเพิ่มเป็น 10% ของกำลังการผลิต โดยรถจักรยานยนต์ของบริษัทมีราคาจำหน่ายที่ 85,000-204,000 บาท และบริษัทมียอดการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ปีละประมาณ 1,700 ล้านบาท
เพิ่มเติม หนังสือพิมพ์ประชาชาติ
สำหรับการเข้ามาหาซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการชาวไทยครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการชาวไทยที่ขึ้นชื่อ และ ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ชั้นนำของโลกหลายรายประกอบกับภาษีส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์จากไทยไปอินเดียไม่สูงมากนัก รวมถึงระยะเวลาการขนส่งจากไทยไปยังโรงงานที่อินเดีย เมื่อเทียบกับการขนส่งภายในอินเดียนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
บริษัทหวังว่าการเข้ามาหาซัพพลายเออร์ชาวไทยจะช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาคุณภาพของสินค้า และช่วยเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปในตลาดหลักๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรหรือเยอรมนีได้ โดยปัจจุบันบริษัทมีการส่งออกปีละ 2,000 คัน คิดเป็นแค่ 4% ของยอดการผลิตเท่านั้น
ส่วนการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยนั้นอยู่ระหว่างการเจรจาหาดิสทริบิวเตอร์ที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย แต่ยังติดที่ภาษีนำเข้าสำหรับรถจักรยานยนต์ ซีบียูในประเทศไทยยังสูงอยู่ ทำให้โอกาส ที่จะเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจังเป็นไปได้ยากขึ้น
ปัจจุบันรอยัล เอ็นฟิลด์มีกำลังการผลิตรถจักรยานยนต์ปีละ 60,000 คัน โดยมีการผลิตจริงที่ 50,000 คันในปีนี้ และตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดผลิตให้ถึง 100,000 คันในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมวางแผนผลักดันตลาดส่งออกเพิ่มเป็น 10% ของกำลังการผลิต โดยรถจักรยานยนต์ของบริษัทมีราคาจำหน่ายที่ 85,000-204,000 บาท และบริษัทมียอดการสั่งซื้อชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ปีละประมาณ 1,700 ล้านบาท
เพิ่มเติม หนังสือพิมพ์ประชาชาติ