รายงานตลาดรถจักรยานยนต์ในเดือนแรกของครึ่งปีหลัง เริ่มต้นเดือนกรกฎาคมด้วยปริมาณยอดจดทะเบียน 138,898 คัน ซึ่งลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ลดลง 8% ซึ่งเป็นการลดลงหลังจากที่เดือนก่อนหน้าทำยอดขึ้นสุงสุดในรอบ 10 เดือน คาดการณ์เบื้องต้นเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากปัจจัยทางฤดูกาล ที่โดยปกติยอดขายช่วงหน้าฝนมักจะลดต่ำลง ขณะที่ค่ายผู้นำอย่างฮอนด้า ยังคงมั่นใจเดินเกมต่อเนื่องชู 2 แคมเปญใหญ่สุดคุ้ม “ผ่อนสนุกขี่สบายกับอิออน” และแคมเปญ “คลิกแจกใหญ่ ได้ไม่ต้องลุ้น” หวังกระตุ้นตลาดครึ่งปีหลัง พร้อมเตรียมรองรับกลุ่มลูกค้าใหม่ในอนาคต วางหมากเดินหน้าเต็มสูบงัดกลยุทธ์นำเสนอความสนุกตลอดครึ่งปี เพื่อตอบสนองในทุกๆ ความต้องการให้สอดคล้องกับทุกไลฟสไตล์ของผู้บริโภค อย่างต่อเนื่อง
นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า “นับตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดรถจักรยานยนต์ไทย ต้องฝ่าฟันกับภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเรื่องสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยรวม และความไม่แน่นอนของการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลให้ตลาดหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงเป็นไปในลักษณะการลดลงแบบชะลอตัว ซึ่งเมื่อดูตัวเลขตลาดรวมรถจักรยานยนต์ 7 เดือนแรก นับว่ามีอัตราเติบโตลดลงเล็กน้อย ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 882,122 คัน ส่งผลให้การขยายตัวของตลาดมีอัตราลดลงเพียง 15% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าตลาดรถจักรยานยนต์จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยปัจจัยเชิงบวกต่างๆ ที่จะกลับเข้ามาช่วยเสริม ทั้งปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายและมีเสถียรภาพมากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่ค่ายผู้ผลิตต่างทยอยนำเสนอออกมากระตุ้นตลาด ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะสะท้อนถึงสัญญาณที่ดีของทิศทางตลาดรถจักรยานยนต์ในบ้านเราอีกครั้ง”
โดยค่ายผู้นำอย่างฮอนด้า เริ่มต้นส่งกิจกรรมมากระตุ้นตลาดในครึ่งปีหลัง ด้วยการผลักดัน 2 แคมเปญส่งเสริมการขายยักษ์ใหญ่ “ผ่อนสนุกขี่สบาย...กับอิออน” และแคมเปญ “คลิกแจกใหญ่ ได้ไม่ต้องลุ้น” ให้ช่วยเป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ประกอบกับการโหมทำกิจกรรมทางการตลาด สร้างความต่อเนื่องให้กับแคมเปญ C’mon Let’s Have Fun ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมสโมสรระดับโลก “ลิเวอร์พูล” กับทีมชาติไทย และกิจกรรมที่สร้างปรากฏการณ์คลื่นมหาชนในมหกรรมดนตรีริมทะเล Honda Click i Reggae on the Rock ที่ส่งสัญญาณการตอบรับที่ดีล้นหลามจากประชาชนกว่าแสนคนทั่วประเทศที่มาร่วมงาน นับว่าทั้ง 2 แคมเปญ และ 2 กิจกรรมใหญ่ดังกล่าวช่วยรักษาสภาพตลาดและเป็นการการันตีฐานผู้ใช้รถจักรยานยนต์ฮอนด้าได้เป็นอย่างดี ส่วนแนวโน้มของสภาพตลาดไตรมาส 3 นี้เป็นต้นไป คาดว่าค่ายผู้ผลิตรายใหญ่ๆ จะยังคงนำเสนอกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าตลาดโดยรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีความคึกคัก และมีความตื่นตัวสูงขึ้นจากครึ่งปีแรก ซึ่งนับเป็นภาพของสัญญาณที่ดีแก่การเริ่มต้นตลาดครึ่งปีหลัง
สำหรับรายละเอียดของยอดการจดทะเบียนในเดือนแรกของครึ่งปีหลังนี้ ปรากฏว่ารถจักรยานยนต์แบบเกียร์อัตโนมัติ หรือแบบ เอ.ที. ขึ้นมาได้รับความนิยมสุงสุด ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนเดือนกรกฎาคม 66,802 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 48% ในขณะที่รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แม้ว่าในเดือนนี้จะมียอดการจดทะเบียนที่น้อยกว่ารถแบบ เอ.ที แต่ก็ต่างกันในสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว มีปริมาณยอดจดทะเบียนเดือนกรกฎาคม 66,646 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 48% แต่หากนับปริมาณยอดจดทะเบียนโดยรวม 7 เดือน นับตั้งแต่ต้นปีมกราคมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีปริมาณยอดจดทะเบียนมากที่สุดถึง 435,321 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 49% และยังคงครองความนิยมเป็นประเภทรถจักรยานยนต์ที่มียอดขายสูงสุดอย่างยาวนาน
ส่วนรถประเภทอื่นๆ มีรายละเอียดยอดการจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ครึ่งปีแรกจนถึงเริ่มเดือนแรกของครึ่งปีหลัง ดังนี้ คือ รถแบบ เอ.ที. มีปริมาณ 411,405 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 47%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 21,674 คัน สัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 6,684 คัน สัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 7,038 คัน สัดส่วนตลาด 1%
ในขณะที่หากแบ่งแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 582,443 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 66%, ยามาฮ่า 245,872 คัน อัตราครองตลาด 28%, ซูซูกิ 38,076 คัน อัตราครองตลาด 4%, คาวาซากิ 7,935 คัน อัตราครองตลาด 1%, เจอาร์ดี 863 คัน, แพล็ตตินั่ม 600 คัน, ไทเกอร์ 473 คัน และอื่นๆ 5,860 คัน
นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า “นับตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดรถจักรยานยนต์ไทย ต้องฝ่าฟันกับภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเรื่องสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยรวม และความไม่แน่นอนของการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลให้ตลาดหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงเป็นไปในลักษณะการลดลงแบบชะลอตัว ซึ่งเมื่อดูตัวเลขตลาดรวมรถจักรยานยนต์ 7 เดือนแรก นับว่ามีอัตราเติบโตลดลงเล็กน้อย ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 882,122 คัน ส่งผลให้การขยายตัวของตลาดมีอัตราลดลงเพียง 15% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าตลาดรถจักรยานยนต์จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยปัจจัยเชิงบวกต่างๆ ที่จะกลับเข้ามาช่วยเสริม ทั้งปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายและมีเสถียรภาพมากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่ค่ายผู้ผลิตต่างทยอยนำเสนอออกมากระตุ้นตลาด ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะสะท้อนถึงสัญญาณที่ดีของทิศทางตลาดรถจักรยานยนต์ในบ้านเราอีกครั้ง”
โดยค่ายผู้นำอย่างฮอนด้า เริ่มต้นส่งกิจกรรมมากระตุ้นตลาดในครึ่งปีหลัง ด้วยการผลักดัน 2 แคมเปญส่งเสริมการขายยักษ์ใหญ่ “ผ่อนสนุกขี่สบาย...กับอิออน” และแคมเปญ “คลิกแจกใหญ่ ได้ไม่ต้องลุ้น” ให้ช่วยเป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ประกอบกับการโหมทำกิจกรรมทางการตลาด สร้างความต่อเนื่องให้กับแคมเปญ C’mon Let’s Have Fun ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมสโมสรระดับโลก “ลิเวอร์พูล” กับทีมชาติไทย และกิจกรรมที่สร้างปรากฏการณ์คลื่นมหาชนในมหกรรมดนตรีริมทะเล Honda Click i Reggae on the Rock ที่ส่งสัญญาณการตอบรับที่ดีล้นหลามจากประชาชนกว่าแสนคนทั่วประเทศที่มาร่วมงาน นับว่าทั้ง 2 แคมเปญ และ 2 กิจกรรมใหญ่ดังกล่าวช่วยรักษาสภาพตลาดและเป็นการการันตีฐานผู้ใช้รถจักรยานยนต์ฮอนด้าได้เป็นอย่างดี ส่วนแนวโน้มของสภาพตลาดไตรมาส 3 นี้เป็นต้นไป คาดว่าค่ายผู้ผลิตรายใหญ่ๆ จะยังคงนำเสนอกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าตลาดโดยรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีความคึกคัก และมีความตื่นตัวสูงขึ้นจากครึ่งปีแรก ซึ่งนับเป็นภาพของสัญญาณที่ดีแก่การเริ่มต้นตลาดครึ่งปีหลัง
สำหรับรายละเอียดของยอดการจดทะเบียนในเดือนแรกของครึ่งปีหลังนี้ ปรากฏว่ารถจักรยานยนต์แบบเกียร์อัตโนมัติ หรือแบบ เอ.ที. ขึ้นมาได้รับความนิยมสุงสุด ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนเดือนกรกฎาคม 66,802 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 48% ในขณะที่รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แม้ว่าในเดือนนี้จะมียอดการจดทะเบียนที่น้อยกว่ารถแบบ เอ.ที แต่ก็ต่างกันในสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว มีปริมาณยอดจดทะเบียนเดือนกรกฎาคม 66,646 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 48% แต่หากนับปริมาณยอดจดทะเบียนโดยรวม 7 เดือน นับตั้งแต่ต้นปีมกราคมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีปริมาณยอดจดทะเบียนมากที่สุดถึง 435,321 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 49% และยังคงครองความนิยมเป็นประเภทรถจักรยานยนต์ที่มียอดขายสูงสุดอย่างยาวนาน
ส่วนรถประเภทอื่นๆ มีรายละเอียดยอดการจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ครึ่งปีแรกจนถึงเริ่มเดือนแรกของครึ่งปีหลัง ดังนี้ คือ รถแบบ เอ.ที. มีปริมาณ 411,405 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 47%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 21,674 คัน สัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 6,684 คัน สัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 7,038 คัน สัดส่วนตลาด 1%
ในขณะที่หากแบ่งแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 582,443 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 66%, ยามาฮ่า 245,872 คัน อัตราครองตลาด 28%, ซูซูกิ 38,076 คัน อัตราครองตลาด 4%, คาวาซากิ 7,935 คัน อัตราครองตลาด 1%, เจอาร์ดี 863 คัน, แพล็ตตินั่ม 600 คัน, ไทเกอร์ 473 คัน และอื่นๆ 5,860 คัน